ข้อควรรู้
สัญลักษณ์และเครื่องหมายสมาคมแม่บ้านตำรวจ
เครื่องหมายเป็นเข็มกลัดติดเสื้อรูปพระแสงดาบเขนและโล่ประกอบด้วยวงกลมเส้นคู่ 2 ชั้น วงนอกมีลายกนกดอกไม้ตอนล่างมีช่อชยัพฤกษ์และอักษร “สมาคมแม่บ้านตารวจ” บนพื้นแดงมีแถบธงชาติไทยอยู่ด้านบนและด้านล่าง
เครื่องแบบสมาคมแม่บ้านตำรวจ
เครื่องแบบสมาคมแม่บ้านตำรวจชุดใหญ่
การแต่งชุดเครื่องแบบสมาคมแม่บ้านชุดใหญ่
๑. ใช้ในกรณีที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของพระราชวงศ์ทุกพระองค์ ทั้งการเข้าเฝ้า การรับ – ส่งเสด็จ
๒. ใช้ในกรณีร่วมงานพิธีกับฝ่ายชาย ที่ฝ่ายชายแต่งกายชุดเครื่องแบบปกติขาว
การแต่งชุดเครื่องแบบสมาคมแม่บ้านตำรวจชุดตรวจการกระโปรง
การแต่งชุดเครื่องแบบสมาคมแม่บ้านชุดตรวจการกระโปรง / ชุดตรวจการกากีกระโปรง
๑. ใช้ในกรณีการประชุม/สัมมนาภายในของสมาคมแมบ้านตำรวจ
๒. ใช้ในกรณีการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสมาคมแม่บ้านตำรวจ เช่น งานรับ – ส่งหน้าที่ ประธานสมาคมแม่บ้านตำรวจหรือการเยี่ยมหน่วย
เครื่องแบบสมาคมแม่บ้านตำรวจชุดตรวจการกางเกง
การแต่งชุดเครื่องแบบสมาคมแม่บ้านชุดตรวจการกางเกง / ชุดตรวจการกากีกางเกง
ใช้ในกรณีการตรวจเยี่ยมหน่วยการปฏิบัติงานในพื้นที่ที่ไม่สะดวกในการแต่งชุดเครื่องแบบ สมาคมแม่บ้านตำรวจ ชุดตรวจการกระโปรง
เครื่องแบบสมาคมแม่บ้านตำรวจชุดตรวจการลำลอง
การแต่งชุดเครื่องแบบสมาคมแม่บ้าน ชุดตรวจการลําลอง
ใช้ในกรณีการตรวจเยี่ยมหนว่ยการปฏิบัติงานในพื้นที่ที่ไม่สะดวกในการแต่งชุดเครื่องแบบ สมาคมแมบ้านตำรวจ ชุด ตรวจการกระโปรง
ข้อบังคับ
ข้อ ๑ ให้จัดตั้งสมาคมขึ้นเรียกว่า “สมาคมแม่บ้านตำรวจ” หรือเรียกโดยย่อว่า “สม.ตร.” ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า “Thai Police Wives Association”
ข้อ ๒ เครื่องหมายสมาคมแม่บ้านตำรวจ เป็นรูปพระแสงดาบเขนและโล่ประกอบด้วยวงกลมเส้นคู่ ๒ ชั้น วงนอกมีลายกนกดอกไม้ ตอนล่างมีช่อชัยพฤกษ์และอักษร “สมาคมแม่บ้านตำรวจ” บนพื้นแดงเลือดหมูมีแถบธงชาติไทยอยู่ด้านบนและด้านล่าง
ข้อ ๓ สถานที่ตั้ง สมาคมแม่บ้านตำรวจตั้งอยู่ที่ อาคารสวัสดิการตำรวจ เลขที่ ๘๘/๙ ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๑๐
ข้อ ๔ ในข้อบังคับนี้
คำว่า “ สมาคม ” หมายความว่า สมาคมแม่บ้านตำรวจ
คำว่า “ คณะกรรมการบริหาร ” หมายความว่า คณะกรรมการบริหารสมาคมแม่บ้านตำรวจ
คำว่า “ ตลอดชีพ ” หมายความว่า ตลอดเวลาที่รับราชการ
ข้อ ๕ วัตถุประสงค์ของสมาคมมีดังต่อไปนี้
(๕.๑) ส่งเสริมความสมัครสมานสามัคคีและอุปการะซึ่งกันและกันระหว่างแม่บ้านตำรวจและประชาชน
(๕.๒) เป็นศูนย์รวมความคิดเห็นและปฏิบัติงานของกล่มุแม่บ้านตำรวจ
(๕.๓) แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในกลุ่มแม่บ้านตำรวจ เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในด้านสวัสดิภาพความเป็นอยู่ และความเข้าใจอันดีซึ่งกันและกันของครอบครัวข้าราชการตำรวจ
(๕.๔) ปฏิบัติงานในทางที่จะช่วยยกระดับความเป็นอยู่ฐานะและเสถียรภาพของเหล่าแม่บ้านตำรวจ
(๕.๕) จัดกิจกรรมที่เป็นสาธารณประโยชน์
(๕.๖) จัดหาทุนเพื่อบำรุงขวัญและช่วยเหลือครอบครัวข้าราชการตำรวจชั้นผู้น้อยในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และประชาชนทั่วไปที่ประสบความเดือดร้อน (๕.๗) ดำเนินกิจกรรมด้านสาธารณกุศล ร่วมกับหน่วยงานราชการ องค์กรการกุศล และองค์กรต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ
(๕.๘) สมาคมนี้ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง
ข้อ ๖ สมาชิกสมาคมมีประเภท เดียว คือ สมาชิกสามัญ ได้แก่ ภริยาของข้าราชการ ตำรวจ ข้าราชการตำรวจสตรี สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ข้อ ๗ การสมัครเป็นสมาชิก
(๗.๑) ผู้สมัครเป็นสมาชิกสมาคมแม่บ้านตำรวจ ต้องยื่นใบสมัครตามแบบที่สมาคมกำหนดต่อนายทะเบียน
(๗.๒) ผู้มัครไม่ต้องชำระค่าบำรุงใด ๆ ทั้งสิ้น
(๗.๓) ให้เลขานุการนำใบสมัครเสนอที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณาว่าควรรับเป็นสมาชิกหรือไม่ ถ้าคณะกรรมการอนุมัติให้ถือว่าสมาชิกภาพเริ่มตั้งแต่วันที่ได้รับอนุมัติ และให้เลขานุการส่งชื่อให้ฝ่ายทะเบียนต่อไป ถ้าไม่อนุมัติให้เลขานุการแจ้งให้ผู้สมัครทราบ
ข้อ ๘ สมาชิกของสมาคมมีสิทธิ์ ดังนี้
(๘.๑) เข้าร่วมกิจกรรมของสมาคมและได้รับประโยชน์จากสมาคม ตามข้อบังคับของสมาคมอย่างเท่าเทียมกัน
(๘.๒) แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจการของสมาคมต่อที่ประชุม เพื่อพิจารณาดำเนินการตามความเหมาะสมต่อไปได้
(๘.๓) ประดับเครื่องหมายและสวมเครื่องแต่งกายของสมาคมได้
ข้อ ๙ สมาชิกมีหน้าที่ ดังนี้
(๙.๑) ปฏิบัติตามวัตถุประสงค์และระเบียบแบบแผนของสมาคมโดยเคร่งครัด ทั้งต้องรักษา คุณธรรม ความดีงาม ไม่ประพฤติตนเสื่อมเสียด้วยประการทั้งปวง
(๙.๒) ร่วมมือในกิจการของสมาคม เพื่อความเจริญก้าวหน้าของสมาคม และต้องรักษาความพร้อมเพรียงในการเข้าร่วมประชุมของสมาคม
ข้อ ๑๐ สมาชิกภาพสิ้นสุดเมื่อ
(๑๐.๑) ตาย
(๑๐.๒) ลาออก
(๑๐.๓) คณะกรรมการลงมติให้ออกโดยคะแนนเสียงเกินกว่ากึ่งหนึ่งของที่ประชุม เพราะสมาชิกผู้นั้นฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือกระทำให้เสื่อมเสียเกียรติของสมาคม
(๑๐.๔) ข้าราชการตำรวจหญิง เมื่อพ้นจากการรับราชการ หรือสิ้นสุดการจ้าง (๑๐.๕) คู่สมรสพ้นจากตำแหน่ง การรับราชการในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ข้อ ๑๑ ให้มีคณะกรรมการบริหาร ขึ้นคณะหนึ่ง ทำหน้าที่บริหารกิจการของสมาคม ซึ่งมีจำนวนไม่น้อยกว่า ๑๕ คน ประกอบด้วย (๑๑.๑) กรรมการบริหารโดยตำแหน่ง (๑๑.๒) กรรมการโดยการแต่งตั้ง ตามข้อ ๑๔
ข้อ ๑๒ กรรมการบริหารโดยตำแหน่ง ประกอบด้วย
(๑๒.๑) นายกสมาคม ๑ คน
(๑๒.๒) อุปนายกสมาคม
(๑๒.๓) กรรมการบริหารระดับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
(๑๒.๔) กรรมการบริหารระดับกองบัญชาการ
ข้อ ๑๓ คณะกรรมการบริหารให้เป็นโดยตำแหน่ง ดังนี้
(๑๓.๑) ภริยาผู้บังคับบัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นนายกสมาคมแม่บ้านตำรวจ ในกรณีที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ไม่มีภริยา หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ภริยาของรองผู้บัญชาการตำรวจ แห่งชาติ ที่อาวุโสสูงสุด เป็นนายกสมาคมแม่บ้านตำรวจ
(๑๓.๒) ภริยารองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หรือตำแหน่งเทียบเท่า เป็นอุปนายกสมาคมแม่บ้านตำรวจ
(๑๓.๓) ภริยาผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หรือตำแหน่งเทียบเท่า เป็นกรรมการบริหาร ระดับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
(๑๓.๔) ภริยาผู้บัญชาการหรือตำแหน่งเทียบเท่า เป็นกรรมการบริหาร ในกรณีที่ผู้บัญชาการ ไม่มีภริยา หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ภริยาของรองผู้บัญชาการที่อาวุโสสูงสุด เป็นกรรมการบริหาร ระดับกองบัญชาการ
ข้อ ๑๔ คณะกรรมการโดยการแต่งตั้ง ให้นายกสมาคมแม่บ้านตำรวจเป็นผู้คัดเลือกสมาชิกที่เหมาะสมดำรงตำแหน่งเลขานุการ เหรัญญิก นายทะเบียน ปฏิคม ประชาสัมพันธ์ หรือตำแหน่งอื่น ๆ ตามที่เห็นสมควร แล้วนำเข้าที่ประชุมมีมติรับรอง
ข้อ ๑๕ นายกสมาคมแม่บ้านตำรวจ สามารถเสนอชื่อบุคคลภายนอกที่เห็นเหมาะสม แต่งตั้งเป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ หรือตำแหน่งอื่นตามที่เห็นสมควร แล้วนำเข้าที่ประชุม มีมติรับรอง
ข้อ ๑๖ บุคคลภายนอกที่นายกสมาคมแม่บ้านตำรวจ เป็นผู้แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ หรือตำแหน่งอื่นตามที่เห็นสมควร ตามข้อ ๑๕ ให้มีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับสมาชิกตาม ข้อ ๘ (ข้อ ๘.๑, ๘.๒) และ ข้อ ๙
ข้อ ๑๗ ลำดับอาวุโสของอุปนายกสมาคมแม่บ้านตำรวจ และคณะกรรมการบริหารระดับภริยาของผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ให้เรียงไปตามลำดับอาวุโสของข้าราชการตำรวจนั้น ๆ
ข้อ ๑๘ คณะกรรมการบริหารโดยตำแหน่งตามข้อ ๑๓.๑ – ๑๓.๔ จะพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(๑๘.๑) ตาย
(๑๘.๒) ลาออก (๑๘.๓) สามีพ้นจากตำแหน่งทางราชการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ข้อ ๑๙ สมาชิกตามข้อ ๑๔ และข้อ ๑๕ จะพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(๑๙.๑) ตาย
(๑๙.๒) ลาออก (๑๙.๓) นายกสมาคมแม่บ้านตำรวจผู้เสนอชื่อบุคคลนั้น ๆ ตามข้อ ๑๔ พ้นจากตำแหน่ง
ข้อ ๒๐ คณะกรรมการบริหารระดับกองบัญชาการ มีหน้าที่เสนอความคิดเห็น ปฏิบัติตามนโยบาย และ วัตถุประสงค์ของสมาคม รวมทั้งดำเนินกิจกรรมที่เหมาะสมตามแต่ละสภาพพื้นที่ และมีสิทธิในการออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุม
ข้อ ๒๑ อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริหาร
(๒๑.๑) กำหนดนโยบาย วางโครงการและระเบียบวิธีการต่าง ๆ ตลอดจนควบคุมการบริหารงานของสมาคมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
(๒๑.๒) รับพิจารณาข้อเสนอของสมาชิกและอนุมัติการดำเนินการ เมื่อเห็นว่าข้อเสนอดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
(๒๑.๓) กำหนดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสมาคมหรือส่วนรวม (๒๑.๔) ลงมติการสิ้นสุดของสมาชิกภาพตาม ข้อ ๑๐.๓
ข้อ ๒๒ คณะกรรมการบริหารของสมาคม มีตำแหน่งและหน้าที่โดยสังเขป ดังนี้ (๒๒.๑) นายกสมาคม ทำหน้าที่ เป็นหัวหน้าในการบริหารกิจการของสมาคม เป็นผู้แทนสมาคม ในการติดต่อกับบุคคลภายนอก และทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุม คณะกรรมการและการประชุมใหญ่ของสมาคม
(๒๒.๒) อุปนายก ทำหน้าที่ เป็นผู้ช่วยนายกสมาคมในการบริหารกิจการของสมาคม ปฏิบัติหน้าที่ ตามที่นายกสมาคมได้มอบหมาย และทำหน้าที่แทนนายกสมาคม เมื่อนายกสมาคมไม่อยู่ หรือไม่สามารถจะปฏิบัติหน้าที่ได้ แต่การทำหน้าที่แทนนายกสมาคม ให้อุปนายกตามลำดับตำแหน่ง เป็นผู้กระทำการแทน
(๒๒.๓) เลขานุการ ทำหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการของสมาคมทั้งหมด เป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่ของสมาคมในการปฏิบัติกิจการของสมาคม และปฏิบัติตามคำสั่งของนายกสมาคม ตลอดจนทำหน้าที่เป็นเลขานุการในการประชุมต่าง ๆ ของสมาคม (๒๒.๔) เหรัญญิก ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเงินทั้งหมดของสมาคม เป็นผู้จัดทำบัญชีรายรับ รายจ่าย บัญชีงบดุลของสมาคม และเก็บเอกสารหลักฐานการเงินต่าง ๆ ของสมาคมไว้ เพื่อตรวจสอบ
(๒๒.๕) ปฏิคม ทำหน้าที่ ในการให้การต้อนรับแขกของสมาคม เป็นหัวหน้าในการจัดเตรียมสถานที่ของสมาคม และจัดเตรียมสถานที่ประชุมต่าง ๆ ของสมาคม
(๒๒.๖) นายทะเบียน ทำหน้าที่เกี่ยวกับทะเบียนสมาชิกทั้งหมดของสมาคม (๒๒.๗) ประชาสัมพันธ์ ทำหน้าที่ เผยแพร่กิจกรรมและชื่อเสียงเกียรติคุณของสมาคมให้สมาชิก และ บุคคลโดยทั่วไปให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย
(๒๒.๘) กรรมการตำแหน่งอื่น ๆ ตามความเหมาะสม
ข้อ ๒๓ คณะกรรมการบริหาร อาจแต่งตั้งสมาชิกเป็นกรรมการผู้ช่วยตามจำนวน ซึ่งคณะกรรมการบริหารเห็นสมควร และให้มีอำนาจแต่งตั้งอนุกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง หรือหลายคณะ เพื่อดำเนินการในกิจการของสมาคมภายใต้การควบคุมของคณะกรรมการบริหาร
ข้อ ๒๔ ให้คณะกรรมการบริหารจัดให้มีการประชุมใหญ่ทุกปี อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ในการประชุมนั้น คณะกรรมการบริหารจะต้องแถลงกิจการที่ดำเนินมาในรอบปีให้สมาชิกทราบ
ข้อ ๒๕ การประชุมใหญ่สามัญ ต้องมีสมาชิกเข้าร่วมประชุมไม่ต่ำกว่า ๑ ใน ๓ ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดหรืออย่างน้อย ๕๐ คน จึงจะถือว่าครบองค์ประชุม โดยนายกสมาคมจะแจ้งให้ทราบล่วงหน้าอย่างน้อย ๗ วัน หากสมาชิกไม่ครบองค์ประชุมให้นายกสมาคมประกาศเลื่อนการประชุม และเรียกประชุมใหม่ภายใน ๑๔ วัน นับจากวันนัดประชุมครั้งแรกและในการเรียกประชุมครั้งใหม่นี้ หากมีสมาชิกมาประชุมเป็นจำนวนเท่าใดก็ให้ถือว่าครบองค์ประชุม แล้วดำเนินการประชุมได้
ข้อ ๒๖ ในกรณีจำเป็นหรือเร่งด่วน สมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๓ ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดหรือสมาชิกจำนวน ๕๐ คน อาจเข้าชื่อร่วมกันร้องขอให้เปิดประชุมใหญ่วิสามัญ เสนอผ่าน เลขานุการถึงนายกสมาคม และนายกสมาคมจะต้องเรียกประชุมใหญ่วิสามัญ ตามคำร้องขอ โดยเร็ว
ข้อ ๒๗ ให้มีการประชุมคณะกรรมการบริหารอย่างน้อยทุก ๓ เดือน เพื่อพิจารณาการดำเนินการของสมาคม ในกรณีจำเป็นนายกสมาคมอาจเรียกประชุมพิเศษได้ ในการประชุมกรรมการบริหารนี้ ต้องมีกรรมการเข้าประชุมเกินกว่ากึ่งหนึ่งจึงจะครบองค์ประชุม
ข้อ ๒๘ การออกเสียงลงมติในการประชุมใหญ่สามัญ หรือการประชุมคณะกรรมการบริหาร ให้ลงมติ โดยเปิดเผยเว้นแต่ที่ประชุมมีมติให้ออกเสียงโดยวิธีลับ และในการออกเสียงให้ถือเสียงข้างมากของจำนวนสมาชิก หรือกรรมการผู้เข้าร่วมประชุม หากคะแนนเสียงเท่ากัน ให้นายกสมาคมออกเสียง เพิ่มอีกหนึ่งเสียงเป็นการชี้ขาด
ข้อ ๒๙ การประชุมใหญ่สามัญ และการประชุมคณะกรรมการบริหาร ให้เลขานุการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ บันทึกการประชุมไว้ทุกครั้ง และต้องเสนอให้มีการรับรองมติในที่ประชุมครั้งต่อไปและให้ที่ประชุม ใหญ่มีมติแต่งตั้งผู้ซึ่งมิใช่กรรมการเป็นผู้ตรวจสอบบัญชี
ข้อ ๓๐ สมาคมอาจมีรายได้จาก
(๓๐.๑) การบริจาค
(๓๐.๒) กิจกรรมที่สมาคมจัดให้มีขึ้น
(๓๐.๓) อื่น ๆ
ข้อ ๓๑ การจ่ายเงินต้องได้รับอนุมัติจาก
(๓๑.๑) นายกสมาคม หรือ
(๓๑.๒) อุปนายกสมาคม โดยคณะกรรมการบริหารเห็นชอบ
ข้อ ๓๒ การเบิกจ่ายเงินจากธนาคาร ต้องมีลายมือชื่อร่วมกันสองในสามของนายกสมาคมกับเลขานุการหรือ เหรัญญิกทุกครั้ง และนายกสมาคมมีสิทธิเบิกจ่ายได้แต่ละครั้งไม่เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท ( ห้าแสนบาทถ้วน ) ถ้าเกินกว่านั้นให้ขออนุมัติจากคณะกรรมการบริหารก่อนเบิกจ่าย
ข้อ ๓๓ ให้มีบัญชีแสดงรายละเอียดของรายรับและรายจ่ายของสมาคม เพื่อแสดงต่อที่ประชุมใหญ่ ทุกครั้งที่มีการประชุม
ข้อ ๓๔ ให้เหรัญญิกจัดทำสมุดบัญชีและงบดุลเสนอให้ผู้สอบบัญชีภายในเวลาอันสมควร และเก็บรักษาไว้ มิให้สูญหาย สำหรับเงินที่มีเหลืออยู่ให้นำฝากธนาคาร และให้เหรัญญิกถือเงินสดได้ครั้งละไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท ( ห้าหมื่นบาทถ้วน )
ข้อ ๓๕ การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับกระทำได้โดยมติที่ประชุมใหญ่ ซึ่งต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า สองในสามของจำนวนสมาชิกที่เข้าประชุมใหญ่
ข้อ ๓๖ สมาคมนี้ย่อมเลิกได้โดยมติที่ประชุมใหญ่ ให้เลิกด้วยคะแนนเสียง สามในสี่ของจำนวน สมาชิกที่เข้าร่วมประชุม
ข้อ ๓๗ เมื่อสมาคมนี้ต้องเลิกไป เมื่อชำระบัญชีแล้วถ้ามีทรัพย์สินเหลืออยู่เท่าใด ให้โอนไปให้แก่องค์การสาธารณกุศลแห่งอื่นหรือหลายแห่งที่เป็นนิติบุคคลตามมติของที่ประชุมใหญ่ (ผู้รับต้องมีฐานะเป็นนิติบุคคล ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการกุศลสาธารณประโยชน์)
สมัครสมาชิก
ใบสมัครสมาชิกสมาคมแม่บ้านตำรวจ สามารถสมัครได้ 2 ช่องทาง ดังนี้